เมนู

บุคคลย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายนั้น อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อม
เกิดขึ้น.
7. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภอาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาสวธรรม
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
8. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภอาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่
อาสวธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
9. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภอาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ อาสวธรรม และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[345] 1. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
เพราะกระทำอาสวธรรมทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น อาสว-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น มี 3 วาระ (วาระที่ 1-3)
พึงกระทำให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหมือนกับอารัมมณปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
ในกาลก่อน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค ฯลฯ ผล ฯลฯ กระทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักเเน่น ฯลฯ
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ
จักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ
ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

5. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำทาน ฯลฯ ขันธ์
ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำทาน
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว อาสวธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมที่เป็นสัม-
ปยุตตธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม
และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำซึ่งทาน ฯลฯ ขันธ์
ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำทาน
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อม
เกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ อาสว-
ธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

7. อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น
ปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอํานาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำอาสวธรรม และ
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ ฯลฯ อาสว-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น มี 3 วาระ. พึงกระทำให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น (วาระที่ 7-9)

4. อนันตรปัจจัย


[346] 1. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ อาสวธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลายที่เกิด
หลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ อาสวธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่
ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาสวธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
3. อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรม
ที่ไม่ใช่อาสวธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย